วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา 2)ศึกษาการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 278 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากใช้แบบสอบถามด้านคุณลักษณะของผู้บริหารที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 และแบบสอบถามด้านการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 รวมค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

 ผลการวิจัยพบว่า 1)คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านการสร้างแรงจูงใจ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการมีภาวะผู้นำ และด้านการตัดสินใจ 2)การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านการเตรียมการและวางแผนดำเนินงาน ด้านการดำเนินงานตามแผน ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และด้านการประเมินผล 3)ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร พบว่ามีค่าความสัมพันธ์ (r) อยู่ระหว่าง .56 - .71 และคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาอยู่ในระดับสูง (r = .73**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

อาริษา วัฒนครใหญ่ และอื่นๆ ( 2560) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร วารสาร นาคบุตรปริทรรศน์  Vol.9 No.1 January-June 2017  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
-
June 2017
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)
เพื่อศึกษาทักษะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาก าแพงเพชร เขต
2
2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส านักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาก าแพงเพชร เขต 2 จ าแนกตามต าแหน่งและระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง
คือ
ผู้บริหารสถา
นศึกษา จ านวน
145
คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือก แบบเจาะจง และครูผู้สอน สุ่มตัวอย่าง
โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย
จ านวน
145
คน รวมทั้งสิ้น จ านวน
290
คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น
แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยล
ะ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบ ค่าที (
t
-
test independent
)
ผลการศึกษา พบว่า 1) ทักษะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ก าแพงเพชร เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส านักงาน
ขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาก าแพงเพชร เขต 2 จ าแนกตามต าแหน่ง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน
มีความคิดเห็น
แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ
0
.
05
และจ าแนกตามระดับการศึกษา พบว่า

รูปแบบบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ

 

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาองค์การที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบบริหารจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ การศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการวิจัยใช้การ วิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จะให้ความสําคัญในการพิจารณาประเด็นหลัก 7 ด้าน คือ 1) ด้านวัตถุประสงค์ในการนําระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์การ 2) ด้านกระบวนการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ 3) ปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับความสําเร็จของระบบสารสนเทศ 4) ด้านคุณลักษณะของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ 5) ด้านการเรียนรู้ขององค์การ 6) ด้านการนําระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารและจัดการความรู้ 7) ด้านการนําระบบสารสนเทศมาสนับสนุนการเพิ่มพูนการเรียนรู้ ผลการศึกษาผู้วิจัยนํามาพัฒนาเป็นรูปแบบบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้รูปแบบ “PHAK IS support” ประกอบด้วย P (Purposes of Information Systems) วัตถุประสงค์ในการนําระบบสารสนเทศมาใช้ H (Human Capital Development ICT Workforce) การพัฒนาทุนมนุษย์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ A (Analysis of Is Solution) การวิเคราะห์เพื่อนําระบบสารสนเทศมาใช้เป็นทางเลือกในการดําเนินงาน
K (Knowledge Based Leaming) การนําระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารองค์ความรู้ภายในองค์การ IS (Information Systems) ระบบสารสนเทศขององค์การที่มีความสําเร็จ และมีการควบคุมที่ดี Support (Information Systems Management to Support Learning Organizations) การบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้


ภัคภิญญา ธรรมโชโต (2560)  รูปแบบบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ  สาขาการบริหารและการจัดการศึกษา ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

 Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) องค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 112 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ 0.95 และ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษามีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาชอบทำงานกับบุคลากรที่มีความสามารถมาก ๆ เพื่อพัฒนาการทำงานให้ได้ผลยิ่งขึ้น รองลงมา คือ ด้านความทะเยอทะยาน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาคิดว่าการทำงานที่ได้รับมอบหมายมาเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถและสติปัญญา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านความกระตือรือร้น ได้แก่ เมื่อผู้บริหารสถานศึกษาได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูงกว่าจะรีบทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนกำหนดเสมอ 2) องค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านโครงสร้างองค์การ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดโครงสร้าง การบริหารงาน ขอบข่าย และหน้าที่ในหน่วยงานชัดเจน รองลงมา คือ ด้านรางวัลตอบแทนและการลงโทษ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษามักจะนึกถึงบุคคลอื่น ๆ ก่อนตัวเอง เมื่อมีความสำเร็จหรือความดีความชอบเกิดขึ้น และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการยินยอมให้มีการขัดแย้ง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาเปิดโอกาสให้บุคลากรแสดง ความคิดเห็นต่อกรณีความขัดแย้งต่าง ๆ และ 3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง รองลงมา คือ ด้านความกระตือรือร้น และด้านที่มีความสัมพันธ์ต่ำที่สุด คือ ด้านความทะเยอทะยาน

กิรติภาพัชร์  กษิดิศ (2560) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 สาขา บริหารการศึกษา ปริญญาคุรุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

QR Code blog

 


picture pongthep


 

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

ความต้องการจำเป็นการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี

 

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดนนทบุรี


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นครูจำนวน 334 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นด้วยสูตร (PNIModified)


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นอยู่จริงของการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครูภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.28 ,S.D. = 0.70) 2) สภาพที่ควรจะเป็นของการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครูอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.90, S.D.= 0.31) และ 3) การจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครูเรียงลำดับจากค่ามากที่สุดไปหาค่าน้อยที่สุดได้แก่ 1) ด้านการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม  2) ด้านมีวินัยและความรับผิดชอบในวิชาชีพ  3) ด้านการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และ 4) ด้านความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู ตามลำดับ


จุรีรัตน์ บุญทอง และ ต้องลักษณ์ บุญธรรม (2561) ความต้องการจำเป็นการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรปีทีี่ 38(3) : 15-34, 2561

ปีทีี่ 38(3) : 15-34, 2561

กลยุทธ์การพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย

 

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นํา เพื่อจัดองค์ประกอบของภาวะผู้นํา และ เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นําของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาภาวะผู้นําของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยใช้เทคนิคเดลฟาย 3 รอบ ผู้ให้ข้อมูล เป็นผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และค่าธานนิยม ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นําของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีจํานวน 55 ตัวชี้วัด ระยะที่ 2 การจัดองค์ประกอบภาวะผู้นําของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและ การศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นําของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารในสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา จํานวน 550 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นในส่วนภาวะผู้นําของ ผู้อํานวยการเขตพื้นที่ เท่ากับ 0.911 และในส่วนของประสิทธิผลของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา 0.951 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ และ ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นําของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มี 7 ด้าน คือ ด้านการเป็นผู้นํา การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา มี 22 ตัวชี้วัด ด้านความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง มี 6 ตัวชี้วัด ด้านความรู้ความเข้าใจทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคม มี 5 ตัวชี้วัด ด้านการพัฒนาตนเอง


นายก้องนเรนท์ พลชา ( 2561) กลยุทธ์การพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

การพัฒนาความรู้ความเข้าใจในวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 Name: เสาวลักษ์ รักชอบ

Address: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ อ.เมือง จ. ศรีสะเกษ 33000
Classification :.DDC: 004
Abstract: ผลการศึกษา - การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้มี 2 ชนิด ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD จำนวน 4 แผนการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ชนิด คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบฝึกทักษะระหว่างเรียน จำนวน 4 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การทดสอบ (t-test) แบบ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์โดยรวมทางการเรียนวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องการเรียนรู้โปรแกรม Microsoft Excel ด้วยเทคนิคแบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้นปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Abstract: The result : - This research aims was: Develop knowledge in Computer and Information Technology Fundamentals. By using cooperative learning techniques. Using a form of learning and group collaboration STAD student’s Computer Business Sisaket Rajabhat University, semester 1/2560 with 28 students. The instruments used in this research are two type: 1) used in the experiment was 4 lesson plans with technical learning group collaboration (STAD) 2) used in the collection. There are 2 types of test achievement. 4 types of multiple-choice answer options 30 items and skills during learning are 4 series and analyzed the data by a computer. The statistics used in this study are the standard deviation of the mean and hypothesis testing by using the test (t-test) with Dependent Samples. The results of the research were found. Achievement Page Simple Learning Microsoft Excel application techniques of cooperative learning groups (STAD) of grade 6 students were higher than the previous. The level of statistical significance. .05, according to the hypothesis.
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. กลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: ศรีสะเกษ
Email: sskrulib@gmail.com, library@lib.sskru.ac.th

เสาวลักษ รักชอบ (2560) การพัฒนาความรู้ความเข้าใจในวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. กลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

  Blogger  นักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา ม.ธนบุรี รุ่นที่ 7

https://suchanyapam.blogspot.com

https://manidatukta2524.blogspot.com

https://sanjitaklayprayong.blogspot.com

https://kruweerayut01.blogspot.com

https://pongthepniyomthai.blogspot.com

https://noorfadilah2534.blogspot.com

https://kanoktip2536.blogspot.com

http://supannee-suna.blogspot.com

https://chaitobuddee.blogspot.com

https://teerapongsuksomsong.blogspot.com

https://witsarut-benz238.blogspot.com

https://phakornkiat.blogspot.com

https://nitid-hengchoochip.blogspot.com

https://chonthichadeebucha.blogspot.com

https://nopparataunprasert.blogspot.com

https://chaichaofa.blogspot.com

https://voraponbabyboss.blogspot.com

https://chenchira2021.blogspot.com

https://nattidadechakkanat.blogspot.com

https://khunmuangchukorn.blogspot.com

https://anupong12tu.blogspot.com

https://sutthananabangchang.blogspot.com

https://sattawatsurisan.blogspot.com

https://thanchanokluarnkrew.blogspot.com

https://supaporn1204.blogspot.com

https://vigaivaraporn.blogspot.com

https://nisachonyimprasert.blogspot.com

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

โปรแกรม PP 51


    โปรแกรม แบบพิมพ์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2551 

     ฉบับปรับปรุง มกราคม 2556 



คู่มือการใช้โปรแกรมโปรแกรม http://www.214995.com/document/pp51-02-2556/document/PP51.pdf


Link ที่เกี่ยวข้อง  https://youtu.be/ULIj_qEzbDI

ประวัติ พงษ์เทพ นิยมไทย

 



1.       ประวัติส่วนตัว

                ชื่อ  นาย พงษ์เทพ  นิยมไทย

                อายุ 41 ปี

                คุณวุฒิทางการศึกษา

1.1   วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี การจัดการธุรกิจ สาขาวิชา การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

จากสถาบัน มหาวิทยาลัยสยาม

1.2   วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิขา ธุรกิจอุตสาหกรรม

จากสถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

                ตำแหน่ง ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลธรรมรัตน์

                สถาบัน/หน่วยงาน โรงเรียนอนุบาลธรรมรัตน์  อำเภอ/เขต กระบุรี

                สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

 

2.       ประวัติการทำงาน

2.1   ปี 2550 เริ่มการทำงานในตำแหน่ง พนักงานฝ่ายวางแผนการผลิต

บริษัท Breuning

2.2    ปี 2551 – 2562 ทำงานในตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายวางแผนการผลิต

บริษัท Breuning

2.3   ปี 2563 – ปัจจุบัน รับตำแหน่ง ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลธรรมรัตน์

น้ำพุ