วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

การพัฒนาความรู้ความเข้าใจในวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 Name: เสาวลักษ์ รักชอบ

Address: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ อ.เมือง จ. ศรีสะเกษ 33000
Classification :.DDC: 004
Abstract: ผลการศึกษา - การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้มี 2 ชนิด ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD จำนวน 4 แผนการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ชนิด คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบฝึกทักษะระหว่างเรียน จำนวน 4 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การทดสอบ (t-test) แบบ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์โดยรวมทางการเรียนวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องการเรียนรู้โปรแกรม Microsoft Excel ด้วยเทคนิคแบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้นปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Abstract: The result : - This research aims was: Develop knowledge in Computer and Information Technology Fundamentals. By using cooperative learning techniques. Using a form of learning and group collaboration STAD student’s Computer Business Sisaket Rajabhat University, semester 1/2560 with 28 students. The instruments used in this research are two type: 1) used in the experiment was 4 lesson plans with technical learning group collaboration (STAD) 2) used in the collection. There are 2 types of test achievement. 4 types of multiple-choice answer options 30 items and skills during learning are 4 series and analyzed the data by a computer. The statistics used in this study are the standard deviation of the mean and hypothesis testing by using the test (t-test) with Dependent Samples. The results of the research were found. Achievement Page Simple Learning Microsoft Excel application techniques of cooperative learning groups (STAD) of grade 6 students were higher than the previous. The level of statistical significance. .05, according to the hypothesis.
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. กลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: ศรีสะเกษ
Email: sskrulib@gmail.com, library@lib.sskru.ac.th

เสาวลักษ รักชอบ (2560) การพัฒนาความรู้ความเข้าใจในวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. กลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

น้ำพุ