วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร วิชาการศึกษา อัพเดท 2563 คลิปที่ 1


 

Ethics Acculturation of International Counseling Students

Ethics Acculturation of International Counseling Students
Li, Dan; Ai, Yang
Journal of International Students, v10 n4 p1103-1109 2020
Counseling ethics is a complex discipline; it is more than the acquisition of ethical principles, codes of ethics, and standards of practice. To disentangle the intricacies of ethics education, we use the acculturation model to conceptualize students' learning of counseling ethics, particularly international students who experience acculturation in the general sense and the acculturation of ethics in the counseling profession specifically. A case study is presented to illustrate the four acculturation strategies that students may adopt in ethical decision-making. Implications for counselor education, practice, and research are provided.
Journal of International Students. 4005 Spurgeon Drive #6, Monroe, LA 71203. Tel: 318-600-5743; Fax: 318-342-3131; e-mail: jis@ojed.org; Web site: https://www.ojed.org/index.php/jis/index
Publication Type: Journal Articles; Reports - Research
Education Level: N/A
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A

Download


Sustainable Participatory Processes of Education Technology Development

Sustainable Participatory Processes of Education Technology Development

Bolmsten, Johan; Manuel, Michael Ekow
Educational Technology Research and Development, v68 n5 p2705-2728 Oct 2020
According to UNESCO, sustainable education requires a participatory development process. This article reports the results of three case studies about sustainable education using e-learning technologies, where the focus of the analysis is on the need for sustainable and participatory development processes. The research approach is based on a meta-synthesis of three cases that target capacity-building in Maritime Education and Training using modern digital technologies. The result of the analysis is an analytical framework that describes how sustainable development of education needs to be understood as a participatory process of education and technology knowledge development taking place in layers of (1) standards, (2) applications, and (3) in-situ development, and based on an evolutionary and participatory process. The analytical framework contributes to a better understanding of the relationship between education for sustainability and sustainability of education--a relation that is recognized to be of importance, but that is also recognized as not sufficiently conceptualized. As the empirical research in this article evidences, a better understanding of sustainable development processes is of academic as well as practical relevance to build educational capacity using E-Learning technologies.
Springer. Available from: Springer Nature. One New York Plaza, Suite 4600, New York, NY 10004. Tel: 800-777-4643; Tel: 212-460-1500; Fax: 212-460-1700; e-mail: customerservice@springernature.com; Web site: https://link.springer.com/
Publication Type: Journal Articles; Reports - Research
Education Level: N/A
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A

Johan, E. and  Ekow m.m( 2020) Sustainable Participatory Processes of Education Technology Development Educational Technology Research and Development, v68 No.5 ;pp2705-2728 


วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา 2)ศึกษาการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 278 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากใช้แบบสอบถามด้านคุณลักษณะของผู้บริหารที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 และแบบสอบถามด้านการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 รวมค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

 ผลการวิจัยพบว่า 1)คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านการสร้างแรงจูงใจ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการมีภาวะผู้นำ และด้านการตัดสินใจ 2)การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านการเตรียมการและวางแผนดำเนินงาน ด้านการดำเนินงานตามแผน ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และด้านการประเมินผล 3)ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร พบว่ามีค่าความสัมพันธ์ (r) อยู่ระหว่าง .56 - .71 และคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาอยู่ในระดับสูง (r = .73**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

อาริษา วัฒนครใหญ่ และอื่นๆ ( 2560) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร วารสาร นาคบุตรปริทรรศน์  Vol.9 No.1 January-June 2017  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
-
June 2017
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)
เพื่อศึกษาทักษะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาก าแพงเพชร เขต
2
2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส านักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาก าแพงเพชร เขต 2 จ าแนกตามต าแหน่งและระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง
คือ
ผู้บริหารสถา
นศึกษา จ านวน
145
คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือก แบบเจาะจง และครูผู้สอน สุ่มตัวอย่าง
โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย
จ านวน
145
คน รวมทั้งสิ้น จ านวน
290
คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น
แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยล
ะ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบ ค่าที (
t
-
test independent
)
ผลการศึกษา พบว่า 1) ทักษะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ก าแพงเพชร เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส านักงาน
ขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาก าแพงเพชร เขต 2 จ าแนกตามต าแหน่ง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน
มีความคิดเห็น
แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ
0
.
05
และจ าแนกตามระดับการศึกษา พบว่า

รูปแบบบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ

 

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาองค์การที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบบริหารจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ การศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการวิจัยใช้การ วิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จะให้ความสําคัญในการพิจารณาประเด็นหลัก 7 ด้าน คือ 1) ด้านวัตถุประสงค์ในการนําระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์การ 2) ด้านกระบวนการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ 3) ปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับความสําเร็จของระบบสารสนเทศ 4) ด้านคุณลักษณะของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ 5) ด้านการเรียนรู้ขององค์การ 6) ด้านการนําระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารและจัดการความรู้ 7) ด้านการนําระบบสารสนเทศมาสนับสนุนการเพิ่มพูนการเรียนรู้ ผลการศึกษาผู้วิจัยนํามาพัฒนาเป็นรูปแบบบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้รูปแบบ “PHAK IS support” ประกอบด้วย P (Purposes of Information Systems) วัตถุประสงค์ในการนําระบบสารสนเทศมาใช้ H (Human Capital Development ICT Workforce) การพัฒนาทุนมนุษย์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ A (Analysis of Is Solution) การวิเคราะห์เพื่อนําระบบสารสนเทศมาใช้เป็นทางเลือกในการดําเนินงาน
K (Knowledge Based Leaming) การนําระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารองค์ความรู้ภายในองค์การ IS (Information Systems) ระบบสารสนเทศขององค์การที่มีความสําเร็จ และมีการควบคุมที่ดี Support (Information Systems Management to Support Learning Organizations) การบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้


ภัคภิญญา ธรรมโชโต (2560)  รูปแบบบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ  สาขาการบริหารและการจัดการศึกษา ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

 Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) องค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 112 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ 0.95 และ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษามีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาชอบทำงานกับบุคลากรที่มีความสามารถมาก ๆ เพื่อพัฒนาการทำงานให้ได้ผลยิ่งขึ้น รองลงมา คือ ด้านความทะเยอทะยาน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาคิดว่าการทำงานที่ได้รับมอบหมายมาเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถและสติปัญญา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านความกระตือรือร้น ได้แก่ เมื่อผู้บริหารสถานศึกษาได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูงกว่าจะรีบทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนกำหนดเสมอ 2) องค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านโครงสร้างองค์การ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดโครงสร้าง การบริหารงาน ขอบข่าย และหน้าที่ในหน่วยงานชัดเจน รองลงมา คือ ด้านรางวัลตอบแทนและการลงโทษ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษามักจะนึกถึงบุคคลอื่น ๆ ก่อนตัวเอง เมื่อมีความสำเร็จหรือความดีความชอบเกิดขึ้น และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการยินยอมให้มีการขัดแย้ง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาเปิดโอกาสให้บุคลากรแสดง ความคิดเห็นต่อกรณีความขัดแย้งต่าง ๆ และ 3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง รองลงมา คือ ด้านความกระตือรือร้น และด้านที่มีความสัมพันธ์ต่ำที่สุด คือ ด้านความทะเยอทะยาน

กิรติภาพัชร์  กษิดิศ (2560) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 สาขา บริหารการศึกษา ปริญญาคุรุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

น้ำพุ